[อัพเดท] ล่าสุดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้รับชื่ออย่างเป็นทางการว่า Covid-19
นาทีนี้คงไม่มีอะไรจะน่ากลัวไปกว่าไวรัส Covid-19 (‘ ไวรัสอู่ฮั่น , ไวรัสโคโรนา ’) โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ 2019 Novel Coronavirus (2019-nCoV) ซึ่งความรุนแรงของเจ้าเชื้อไวรัสตัวนี้ ทำเอาคนทั่วโลกต่างพากันวิตกกังวล ถึงขั้นต้องเฝ้าระวังกันอย่างใกล้ชิดเลยทีเดียว
COVID-19 สรุป ! ทุกประเด็นสำคัญที่คุณต้องรู้ (อัพเดท 27/03/2563)
บทความนี้ แอดมินขอนำเสนอถึงประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ‘ โควิด-19 ’ โดยเนื้อหาเป็นการสรุปข้อมูลจากแพทย์ที่มีประสบการณ์ผู้มีประสบการณ์ ซึ่งออกมาเผยข้อมูลที่ประชาชนสามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย และนำไปสู่การป้องกันที่ถูกต้อง ทั้งนี้บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ หรือบุคคลทั่วไปซึ่งทำงานในพื้นที่เสี่ยง สามารถอ่านและนำไปปฏิบัติตามได้ ..เพียงแค่ร่วมมือกัน ประเทศไทยจะรอดพ้นจากวิกฤตได้ในเร็ววันค่ะ
1.>> โรค และอาการของเชื้อ COVID-19
- พบว่ากลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนหนุ่มสาว และมีโอกาสเสียชีวิต สูงถึง 4-14 %
- เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่พบว่ามีอาการปอดอักเสบ หรือแสดงอาการรุนแรงเท่าผู้ใหญ่
- 93% ของผู้ติดเชื้อพบว่ามีอาการน้อย และอีก 7% มีอาการมาก
- เริ่มมีอาการในวันที่ 5 จะมีอาการไอแห้ง ไข้ขึ้น และหนักสุดในวันที่ 10 มีอาการหายใจลำบาก เหนื่อยหอบ
- น้ำมูกไหล มักไม่ใช่สัญญาณของการติดเชื้อไวรัสโควิด มีเพียงแค่ 4% เท่านั้น ที่พบอาการมีน้ำมูก
2.>> การติดต่อของ COVID-19
- เชื้อไวรัสสามารถติดติดต่อได้จากการสัมผัส เช่น สัมผัส 10 วินาที มีโอกาสติด สูงถึง 70%
- เชื้อไวรัสสามารถออกมาทางอุจจาระได้ ควรปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจาย
- นั่งใกล้ชิดกับผู้ป่วยประมาณ 12 ชั่วโมง มีโอกาสติดผ่านทางอากาศถึง 50% ( หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด เช่น ห้าง ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล สถานีขนส่ง รถโดยสารปรับอากาศ ฯลฯ )
- ยืนหรือนั่งใกล้กันเพียง 1 เมตร มีโอกาสติดเชื้อถึง 50% หากอยู่ห่างกัน 4-5 เมตร จะไม่มีโอกาสติดเชื้อเลย ทั้งนี้ WHO ( องค์การอนามัยโลก ) แนะนำควรเว้นระยะห่างจากกันประมาณ 2 เมตร ก็เพียงพอแล้ว
- หากไม่จำเป็น ควรหลีกเลี่ยงการนำมือมาสัมผัสใบหน้าช่วง T-zone ตา จมูก ปาก
- หากไม่จำเป็น ควรหลีกเลี่ยงการไปโรงพยาบาล ( อ้างอิงจากรายงานจีน พบผู้ป่วยประมาณ 41% ในเมืองอู่ฮั่น ติดเชื้อมาจากโรงพยาบาล )
- บุคลากรทางการแพทย์ มีโอกาสติดเชื้อเฉลี่ย 5% (จากโอกาสติดตั้งแต่ 3-7% ) หรือ 1 ใน 20
- แพทย์มีโอกาสเข้ารับการรักษาในห้อง ICU เทียบเท่า 1 ใน 100
- แพทย์ที่มีอายุมาก มีโอกาสเสี่ยงมากกว่า แพทย์อายุน้อย
3.>> หน้ากากอนามัยสำหรับป้องกัน COVID-19
- หากแพทย์สวมหน้ากากให้คนไข้ จะสามารถลดการแพร่กระจายของเชื้อได้ถึง 1,000 เท่า ดังนั้นควรรีบให้คนไข้สวมหน้ากากอนามัย เพียงแค่หน้ากาก Surgical mask ทั่วๆ ไป ( ที่ด้านใดด้านหนึ่งเป็นสีเขียวหรือฟ้า ) ก็สามารถลดการแพร่เชื้อได้ถึง 90% และช่วยลดความไกลของเชื้อลงไปถึง 10 เท่า
- หน้ากากอนามัยชนิด Surgical mask สามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้ถึง 56%, ชนิด N95 ป้องกันได้ 66% และหน้ากากอนามัยชนิดอื่นๆ ที่ขอบหน้ากากมีรอยพับหรือมีขอบลวด เชื้อไวรัสจะเข้าได้เพียง 10%
- หน้ากากอนามัย Surgical mask ที่มีการ ‘ติดเทปตามขอบ’ จะสามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้ 95% ส่วน N95 หากติดเทปจะป้องกันได้ถึง 99%
- **การติดเทปที่ขอบหน้ากากเป็นเรื่องที่สำคัญมาก** มากกว่าการเลือกใช้ N95% ที่ไม่มีการติดเทปเสียอีก
- แนะนำเทปที่เลือกใช้ ควรเป็นชนิด Micropore เพราะผิวสัมผัสเมื่อโดนเนื้อแล้วจะไม่เจ็บเท่าเทปชนิด Transpore หรือสก๊อตเทปทั่วๆ ไป
- หน้ากากขอบ Silicone ก็สามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้ดี เนื่องจากแนบไปกับใบหน้าได้
- ควรสวม Face shield ในระหว่างทำหัตถการ
- หากหน้ากาก N 95 ขาดแคลน สามารถนำมาฆ่าเชื้อแล้วใช้ซ้ำต่อได้ หากกลัวว่าด้านนอกหน้ากากจะปนเปื้อนเชื้อโรค สามารถสวมหน้ากากแบบ Surgical mask หรือหน้ากากผ้าธรรมดาทับอีกชั้นได้
4.>> สถานที่ / พื้นที่เสี่ยงต่อการติดต่อ COVID-19
- ขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ภายในลิฟต์ถือว่าเป็นจุดอันตราย เนื่องจากมีความแออัดและเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ดังนั้นควรมีความระมัดระวังสูง
- หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสสิ่งของต่างๆ โดยตรง เช่น ลูกบิดประตู ควรใช้หลัง ไหล่ ศอก เท้า หรือมีคนช่วยเปิดให้
- ควรให้ผู้ป่วยอยู่บริเวณใกล้กับหน้าต่าง และหันพัดลมออกไปทางด้านนอกหน้าต่าง
- ภายในห้องตรวจ ควรตั้งพัดลมบริเวณด้านหลังที่แพทย์นั่ง และหันพัดลมออกไปทางด้านนอกหน้าต่าง
- ถ้าไม่มีห้อง Negative pressure ( ห้องแรงดันลบ ) เพียงพอ ให้ผู้ป่วยอยู่ห้องแยก โดยหันพัดลมออกไปทางหน้าต่างให้ผู้ป่วย
- หอผู้ป่วยควรจัดแยกเป็น 2 โซน คือ
- โซน Contaminated พื้นที่สำหรับผู้ป่วย หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการดูแลผู้ป่วย
- โซน Contact พื้นที่สำหรับผู้ที่ทำงานเอกสาร หรือติดต่อประสานงาน
5.>> การฆ่าเชื้อ COVID-19
- สบู่ ผงซักฟอก หรือน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป สามารถทำความสะอาดสิ่งต่างๆ ได้ดี ไม่จำเป็นจะต้องใช้แอลกอฮอล์อย่างเดียว
- หมั่นเช็ดลูกบิดประตู ราวบันได เค้าน์เตอร์ คีย์บอร์ด มือถือ ฯลฯ
>> สรุปแบบสั้นๆ <<
- หากไม่จำเป็น ควรหลีกเลี่ยงนำมือมาสัมผัสหน้า
- หมั่นล้างมือบ่อยๆ ให้ถูกวิธี อย่างน้อยประมาณ 20 วินาที
- แปะเทปบริเวณขอบหน้ากากอนามัย
- ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่มีการใช้งานเป็นประจำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือน้ำยาทำความสะอาด
- หากไม่จำเป็นควรงดไปพื้นที่แออัด เช่น ห้าง โรงพยาบาล ฯลฯ
- ควรห่างจากผู้คนประมาณ 2 เมตร
- ไม่จำเป็นอย่าออกจากบ้าน
หากเราปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นอย่างเคร่งครัด
.. เราจะผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้อย่างแน่นอนค่ะ ..
ขอขอบพระคุณแหล่งข้อมูลจาก :
ศ.นพ.ขจรศักดิ์ ศิลปโภชากุล
อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ อาจารย์พิเศษประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Facebook Page : DoDONE
และ Intensive course for healthcare personel
สำหรับมาตรการป้องกันไวรัส Covid-19 (ไวรัสอู่ฮั่น,ไวรัสโคโรนา) ภายใน Doctor Mek Clinic
1.ทางคลินิกได้ทำการพ่นยาฆ่าเชื้อ ทั่วทุกพื้นที่ภายในคลินิก
2.ได้จัดเตรียมเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ (แบบเซนเซอร์ ไม่ต้องสัมผัส) ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ 90% ไว้บริการค่ะ
3.ติดตั้งเครื่องอินฟราเรดโดยไม่ต้องสัมผัสเพื่อวัดอุณหภูมิแบบ non contact เพื่อตรวจสอบค่ะ
4.ทางคลินิกได้ร่วมรณรงค์ให้พนักงานทุกคนในคลินิกสวมแมสก์
5.นอกจากนี้ยังทำความสะอาดพื้นที่ภายในคลินิก ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกบริเวณสัมผัส ทุก 4 ชม.
6.ทางคลินิกได้ทำการคัดกรองเบื้องต้น เพื่อความปลอดภัยค่ะ
อย่าลืม กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ บ่อยๆ ด้วยนะคะ ?
ไอเดีย DIY อุปกรณ์สู้ Covid-19 ทำเองได้ไม่ง้อของแพง https://doctormekclinic.com/diy-covid-19/ คลิ๊กเลยค่ะ
รายละเอียดเพิ่มเติม
- เอกสารรับรองสารทำความสะอาดที่ใช้ภายในคลินิก
- ( Covid-19 ) ไวรัสโคโรนา คืออะไร ?
- จุดกำเนิดเชื้อไวรัส Covid 19 มาจากไหน ?
- อาการของไวรัส Covid 19
- เชื้อไวรัส Covid 19 ติดต่อได้อย่างไร ?
- ไวรัส Covid 19 รักษาได้ไหม ?
- การป้องกันไวรัส Covid 19 เบื้องต้น
เอกสารรับรองสารทำความสะอาดที่ใช้ภายในคลินิก (ยาพ่นฆ่าสำหรับเชื้อ) ในมาตรการป้องกันไวรัส Covid 19
เมื่อประมาณปลายเดือน ธ.ค. 2019 พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในพื้นที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน และต่อมาได้เกิดการแพร่ระบาด ไปหลายพื้นที่ ในแถบเอเชีย จนมีผู้เสียเสียชีวิตมากกว่า 100 ราย
* อ้างอิงจากเว็บไซต์ gisanddata.maps.arcgis.com
( Covid-19 ) ไวรัสโคโรนา คืออะไร ?
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า COVID-19 ( โควิด-19 ) เป็นไวรัสที่กำลังแพร่ระบาดไปในหลายประเทศอยู่ในขณะนี้ ซึ่งมีความรุนแรงมากกว่าโรคซาร์ SARS ที่ครั้งหนึ่งเคยระบาดไปทั่วโลกเมื่อประมาณสิบปีก่อน โดยสันนิษฐานว่าเชื้อไวรัสอาจมาจากตลาดแห่งหนึ่งในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ที่มีการซื้อขายเนื้อสัตว์ป่า หรือเนื้อสัตว์เปิบพิสดาร และปัจจุบันมีการแพร่กระจายจากคนสู่คนได้โดยผ่านทางสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น การไอ จาม น้ำลาย น้ำตา เหงื่อ เป็นต้น
โดยอาการระยะแรกของผู้ติดเชื้อไวรัส Covid-19 (ไวรัสอู่ฮั่น , ไวรัสโคโรนา) นั้น จะเริ่มจากการเป็นไข้หวัดเพียงเล็กน้อย และเมื่อเชื้อได้ลุกลามเข้าไปยังอวัยวะภายในร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการปอดบวมอย่างรุนแรง และอาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน จนเสียชีวิตในที่สุดค่ะ
ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเชื้อไวรัสชนิดนี้ มีต้นกำเนิดมาจากค้างคาว และกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน ประเภท งู โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้จะเข้าสู่ร่างกาย ด้วยการกินเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อ ก่อนที่จะเกิดการกลายพันธุ์ จนส่งผลให้สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยตรง
เอกสารอ้างอิงงานวิจัยไวรัส Covid 19 (ไวรัสอู่ฮั่น , ไวรัสโคโรนา)
ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้ผู้คนตื่นตระหนกกัน เนื่องจากว่ามันเป็นเชื้อไวรัส Covid-19 เป็นชนิดเดียวกับ ไวรัสซาร์ SARS ที่ครั้งหนึ่งเคยระบาด ไปทั่วโลกเมื่อประมาณสิบปีก่อน และคร่าชีวิตคนไปเป็นจำนวนมากนั่นเองค่ะ
Time Line Covid-19 :จุดกำเนิดเชื้อไวรัส Covid-19 (ไวรัสอู่ฮั่น,ไวรัสโคโรนา) มาจากไหน ?
- “ เมืองอู่ฮั่น ” (Wuhan) จัดว่าเป็น “ ชิคาโกแห่งเอเชีย ” เพราะนอกจากจะเป็นเมืองหลวงของมณฑลหูเป่ยแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางการติดต่อสื่อสาร และการขนส่ง ทางภาคตะวันออกของจีนแล้ว (นอกจากนี้อู่ฮั่นยังติดอันดับเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 42 ของโลกด้วยค่ะ)
- ในเมืองอู่ฮั่นนั้น มีตลาดแห่งหนึ่ง ชื่อว่า “ตลาดหัวหนาน” เป็นตลาดค้าส่งอาหารทะเล และขึ้นชื่อในเรื่องของตลาดค้าเนื้อสัตว์แบบเปิบพิสดาร โดยมีสัตว์พร้อมชำแหละขาย มากถึง 112 ชนิด อาทิ ค้างคาว งู จระเข้ สุนัขจิ้งจอก ซาลาแมนเดอร์ อูฐ นกยูง หรือแม้กระทั่งหมีโคอาล่าที่ติดป้ายขายกันในราคา 70 หยวน หรือราวๆ 307 บาทค่ะ
- เมื่อประมานกลางเดือนธันวาคมปี 2019 ที่ผ่านมา เมืองอู่ฮั่น ได้พบผู้ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ โดยไม่รู้สาเหตุ และมีอาการคล้ายไข้หวัด มีไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ
- พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเจ้าของร้านค้าเนื้อพิสดาร และลูกจ้าง รวมถึงลูกค้าที่เคยไปตลาดแห่งนี้มาก่อน
- หลังจากนั้น ได้มีการเก็บตัวอย่างไวรัสจากผู้ป่วย ไปทำการตรวจสอบภายในห้องแล็บ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2020 ที่ผ่านมา ได้มีประกาศอย่างเป็นทางการว่าคือ “ เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ” หรือหลายๆ คนเรียกกันว่า “ ไวรัสอู่ฮั่น ”
- จากการวิจัยพบว่าไวรัสชนิดนี้ มีที่มาจาก ไวรัสโคโรนาในตัวค้างคาว + ไวรัสโคโรนาที่พบในตัวงูเห่า และเกิดการติดต่อข้ามสปีชีส์จากงูเห่ามายังมนุษย์เรา จนเกิดการกลายพันธ์ุจนสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ค่ะ
- ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนมากขึ้น อีกทั้งยังพบผู้ติดเชื้อนอกประทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า และล่าสุดจากสหรัฐอเมริกา โดยทั้งหมดล้วนเคยเดินไปยังเมืองอู่ฮั่นค่ะ
อาการของไวรัส Covid 19 (ไวรัสอู่ฮั่น , ไวรัสโคโรนา) ?
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจค่ะ คล้ายกับอาการที่มักจะพบได้ในคนไข้ที่มีการติดเชื้อไวรัส จากแบคทีเรีย และเชื้อรา ส่งผลให้เกิดการอักเสบของถุงลมปอด และเนื้อเยื่อโดยรอบ หลักๆ มีอาการดังนี้ค่ะ
- มีอาการเป็นไข้ ไอแห้ง เสมหะไม่มาก ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย และมีอากาศเหนื่อยหอบจากอาการปอดบวม
- อาการอื่นๆ ที่พบ เช่น ไอเป็นเลือด มีเสมหะ และท้องเสีย เป็นต้น
- อาการปอดบวมจากเชื้อไวรัส มักเกิดกับปอดทั้งสองข้าง ซึ่งหากทำการ x-ray จะพบฝ้าขาวภายในปอด *มีรายงานว่าสามารถพบในผู้ป่วยที่ไม่มีไข้ด้วยเช่นกันค่ะ
- มีอาการหายใจเหนื่อยหอบประมาณ 7-8 วัน และอาการจะเริ่มรุนแรงขึ้นจนอาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจ
- ราวๆ ประมาณวันที่ 9 อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ในที่สุดค่ะ
เชื้อไวรัส Covid-19 (ไวรัสอู่ฮั่น , ไวรัสโคโรนา) ติดต่อได้อย่างไร ?
อย่างที่บอกว่า “เชื้อไวรัส Covid-19 (ไวรัสอู่ฮั่น , ไวรัสโคโรนา) ” มันสามารถติดต่อจากคนมาสู่คนได้ ไม่ว่าจะเป็นเพศไหนวัยใดก็ตาม หรือคนที่มีโรคประจำตัว ก็มีโอกาสที่จะเสี่ยงรับเชื้อไวรัสตัวนี้ได้เหมือนกันทุกคนค่ะ
โดยเชื้อไวรัสจะติดต่อผ่านทางการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย อธิบายง่ายๆ ก็คือ
“ หากเราโดนสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ หรือละอองจากการไอ จาม ก็มีโอกาสที่เราจะติดเชื้อต่อจากคนเหล่านั้นได้ค่ะ ”
หรือ “ การสัมผัสกับสิ่งที่ผู้ป่วยสัมผัสแล้ว ไม่จะเป็นของใช้ส่วนตัว หรือของใช้สาธารณะ เช่น ปุ่มกดลิฟท์ ราวบันได ราวรถโดยสาร มือจับประตูห้องน้ำ ฯลฯ ”
ไวรัส Covid-19 (ไวรัสอู่ฮั่น , ไวรัสโคโรนา) รักษาได้ไหม ?
ขณะนี้ยังไม่มียาเฉพาะเจาะจงที่ใช้สำหรับการรักษา และยังไม่มีวัคซีนที่ฉีดเพื่อป้องกันไวรัสโคโรนาได้นะคะ ( ตามธรรมชาติโรคที่อุบัติขึ้นมาใหม่จะไม่มีวัคซีนเพื่อฉีดป้องกันได้ในทันทีทันใดค่ะ ) แต่โดยส่วนใหญ่หากเป็นแล้ว แพทย์จะทำการรักษาตามอาการ ประคับคองกันไปจนกว่าอาการจะดีขึ้นค่ะ และหากร่างกายเกิดภูมิต้านทานมากพอ ก็สามารถหายเองได้ค่ะ
การป้องกันไวรัส Covid-19 (ไวรัสอู่ฮั่น,ไวรัสโคโรนา) เบื้องต้น
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด หรือพื้นที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท เช่น โรงหนัง โรงพยาบาล สนามบิน ฯลฯ
- หากมีความจำเป็นต้องไปสถานที่แออัด ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย ( หน้ากากรุ่น N95 ) และหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับคนที่มีอาการไอ จามค่ะ
- ล้างมือบ่อยๆ เพราะในแต่ละวันมือของเราสัมผัสอะไรต่อมิอะไรมากมาย โดยไม่รู้ว่าติดเชื้อโรคอะไรมาหรือเปล่า การล้างมือหลังจากทำกิจกรรมต่างๆ และทุกครั้งก่อนทานอาหาร จะช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อได้ค่ะ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ที่ป่วย หรือตาย อีกทั้งควรเลี่ยงการไปตลาดค้าสัตว์มีชีวิต ซึ่งเป็นแหล่งรวมสัตว์จำนวนมาก ( อันเนื่องมาจากไวรัสโคโรนานั้น เริ่มต้นมาจากการแพร่กระจายจากสัตว์สู่คน ) ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงไว้ก่อนค่ะ
- ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อนอาหาร หลอดดูดน้ำ ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้นค่ะ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ปรุงสุกใหม่ๆ ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- หากเพิ่งเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ หรือต่างจังหวัดภายใน 14 วัน ไม่ว่าพื้นที่ที่ไปมาจะมีเชื้อระบาดหรือไม่ก็ตาม และเริ่มมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หรือท้องเสีย ควรรีบเดินทางไปโรงพยาบาล พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางกับเจ้าหน้าที่ด้วยค่ะ
- หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่ สายด่วน กรมควบคุมโรค 1422 ค่ะ
ข่าวเกี่ยวกับการระบาด หรือแม้กระทั่งยอดผู้ติดเชื้อ มักจะตามหลังสถานการณ์จริงอยู่พอสมควรค่ะ แต่ถึงแม้สถานการณ์จริงจะล่วงหน้าไปไกลแค่ไหน แอดมินก็อยากให้เราทุกคนรับมือกับสถานการณ์กันอย่างมีสติ เพราะในสภาวะแบบนี้ ไม่มีอะไรน่ากลัวไปกว่า ‘ ความกลัว ’ ของคนเราแล้วค่ะ หากเราตื่นตระหนก หวาดระแวงมากจนเกินไป ย่อมจะทำให้เราขาดสติในการเสพข้อมูลข่าวสารได้ค่ะ
และหากท่านสนใจบทความ และบริการอื่นๆ ของเราสามารถอ่านได้ที่นี่ค่ะ
สุดท้ายนี้ หากสนใจข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับฟิลเลอร์ สามารถเข้าไปรับชมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับของคลินิกเราได้ตามช่องทางดังนี้ค่ะ Website , Facebook Page , Youtube