เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ เลือกผิดมีพิษถึงตาย !??

เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ มีพิษถึงตาย !??

“เจลแอลกอฮอล์” ถือว่าเป็นอีกหนึ่งไอเท็มช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส Covid-19 ได้เป็นอย่างดี เพราะทุกคนไม่ว่าใครในตอนนี้ต่างก็หันมารักษาอนามัยกันทั้งนั้น เจลแอลกอฮอล์จึงได้กลายมาเป็นที่ต้องการอย่างมาก ไม่แพ้หน้ากากอนามัยเลยทีเดียวค่ะ 

* อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เชื้อไวรัส Covid-19 คลิ๊ก https://doctormekclinic.com/coronavirus/

ฃซึ่งในขณะเดียวกันก็ทำให้พ่อค้าแม่ค้าหัวใส เอาเปรียบผู้บริโภคด้วย การทำเจลแอลกอฮอล์ปลอมมาหลอกขาย ทั้งนี้เนื่องจากถูกผลิตขึ้นมาอย่างไม่ได้มาตรฐาน และมีความเป็นพิษต่อร่างกายสูง ซึ่งหากนำมาใช้แล้วอาจจะส่งผลร้ายต่อร่างกายของเราได้ค่ะ และเพื่อเป็นการป้องกันให้ผู้บริโภค ไม่ถูกย้อมแมวขายนั่นเองค่ะ 

วันนี้แอดมินจะมาอธิบายถึงความแตกต่างของ เจลแอลกอฮอล์แต่ละชนิด พร้อมแนะนำวิธีทดสอบเจลล้างมือว่า อันไหนแท้ อันไหนปลอม กันค่ะ ..!?

“ เจลแอลกอฮอล์ ” คืออะไร

“ เจลแอลกอฮอล์ ” คืออะไร

“เจลแอลกอฮอล์” คือ เจลทำความสะอาดมือโดยไม่ต้องใช้น้ำล้างออก ที่มีความปลอดภัยสูง โดยมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัด คือ แห้งเร็ว และไม่ส่งผลเสียต่อผิวค่ะ ซึ่งมีส่วนผสมหลัก คือ เอทานอล (Ethanol) หรือที่เรียกว่า เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol) 95% นำมาผสมกับส่วนผสมอื่นๆ เช่น กลีเซอรีน น้ำ ฯลฯ ก็จะได้เจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นอยู่ที่ 75% ซึ่งเป็นระดับความเข้มข้นที่สูงพอต่อการนำไปใช้งาน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.9% เลยทีเดียวค่ะ

* อ้างอิงจาก มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้เจลล้างมือนั้น ต้องมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์มากกว่า 70% หากต่ำกว่า 70% จะไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ค่ะ

“เมทิลแอลกอฮอล์” กับ “เอทิลแอลกอฮอล์” แตกต่างกันอย่างไร ?

“เมทิลแอลกอฮอล์” กับ “เอทิลแอลกอฮอล์” แตกต่างกันอย่างไร ?

ถึงแม้แอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิดนี้ จะมีคุณสมบัติทางกายภาพที่คล้ายคลึงกัน แต่คุณประโยชน์ที่มีต่อร่างกายมนุษย์นั้นแทบจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเลยค่ะ โดยมีข้อแตกต่างดังนี้ค่ะ

เอทิลแอลกอฮอล์ คืออะไร ?

1. เอทิลแอลกอฮอล์ คืออะไร ?

ชื่อทางเคมี เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol) หรือ เอทานอล (Ethanol) เป็นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักพืชผลทางการเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด รวมถึงธัญพืชต่างๆ โดยจะเข้าสู่กระบวนการแปลงย่อยโดยมียีสต์เป็นตัวเร่งค่ะ เพื่อเปลี่ยนแป้งในพืชเหล่านี้ให้เป็นน้ำตาล จากนั้นยีสต์จึงเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ ก่อนจะนำไปกลั่นเพื่อทำให้แอลกอฮอล์มีความบริสุทธิ์มากขึ้นนั่นเองค่ะ 


เอทิลแอลกอฮอล์ มีคุณสมบัติเป็นของเหลว ใส ไวไฟสูง ระเหยได้ง่าย และละลายน้ำได้ดี มีความปลอดภัยต่อร่างกาย สามารถใช้ดื่มกินได้ ซึ่งนิยมนำมาทำเป็นเครื่องดื่มของมึนเมา ยาแก้ไอ ยาฆ่าเชื้อโรค เครื่องสำอาง หรือน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้นค่ะ

สำหรับโทษของแอลกอฮอล์ชนิดนี้ จะเกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ซะส่วนใหญ่ค่ะ หากมีการดื่มเป็นประจำมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง และตับอักเสบนั่นเองค่ะ

✔️เหตุผลที่ควรเลือก “เจลแอลกอฮอล์” ที่มี “เอทิลแอลกอฮอล์” เป็นส่วนประกอบ ?

อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า เจลแอลกอฮอล์ ที่มีประสิทธิภาพนั้น ควรมีส่วนผสมของ “ เอทิลแอลกอฮอล์ ” เท่านั้น เนื่องจาก

  • เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ที่ผลิตโดยวัตถุดิบจากธรรมชาติ ซึ่งนิยมใช้ในอุตสาหกรรมด้านอาหารและยา
  • เป็นตัวทำละลายที่มีประสิทธิภาพ และมักถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรม ยาและเวชภัณฑ์
  • มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์สูง และยังสามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค รวมถึงเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ ได้ดีกว่าแอลกอฮอล์บางชนิด 
  • เหมาะสำหรับการฆ่าเชื้อบนผิวหนัง และทำความสะอาดอุปกรณ์ทางการแพทย์
  • ไม่ทำร้ายผิวหรือเกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง เพียงแต่อาจจะทำให้ผิวแห้งนิดหน่อย

เมทิลแอลกอฮอล์ คืออะไร ?

2.เมทิลแอลกอฮอล์ คืออะไร ?

ชื่อทางเคมี เมทิลแอลกอฮอล์ (Methyl alcohol) หรือ เมทานอล (Methanol) ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการกลั่นทางปิโตรเคมี โดยนิยมใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมประเภทก่อสร้างต่างๆ เช่น สีทาไม้ ทินเนอร์ แลคเกอร์ ฯลฯ และใช้เป็นเชื้อเพลิงในธรรมชาติ “เมทิลแอลกอฮอล์” มีคุณสมบัติเป็นของเหลว ใส ไวไฟสูง ระเหยได้ง่าย และละลายน้ำได้ดี (เนื่องจากคุณสมบัติมีความคล้ายคลึงกับ “เอทิลแอลกอฮอล์” เป็นอย่างมาก อาจทำให้ผู้ซื้อแทบไม่สามารถแยกออกได้ค่ะ)

✖️ ห้ามเลือก “เจลแอลกอฮอล์” ที่มี “เมทิลแอลกอฮอล์” !

“เมทิลแอลกอฮอล์” เป็นสารอันตราย ที่ไม่ควรนำมาใช้เป็นส่วนผสมของเจลแอลกอฮอล์ล้างมือเป็นอันขาด ! เพราะความรุนแรงของแอลกอฮอล์ชนิดนี้ ไม่เพียงแต่จะทำร้ายผิวของเราให้เสียหายเท่านั้น แต่ยังสามารถเข้าไปทำลายอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายของเราได้โดยไม่รู้ตัวอีกด้วยค่ะ ซึ่งผลกระทบต่างๆ ที่เกิดจากการใช้เมทิลแอลกอฮอล์ มีดังนี้

  • เกิดการดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง และอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
  • หากสูดดมมากเกินไป จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ส่งผลทำให้เกิดหลอดลมอักเสบ หลอดคออักเสบได้
  • หากเข้าตา ส่งผลทำให้เกิดการระคายเคือง จนถึงเยื่อบุตาอักเสบได้ และกรณีร้ายแรงที่สุดจะส่งผลต่อระบบประสาทตา และอาจทำให้ตาบอด
  • ทำให้ปวดท้อง วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก และกล้ามเนื้อกระตุก
  • หากดื่มเข้าไป จะมีการกระจายเข้าสู่กระแสเลือดทันที ทำให้ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน กรณีร้ายแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในที่สุด

หลักการเลือกซื้อเจลแอลกอฮอล์

หลักการเลือกซื้อเจลแอลกอฮอล์

ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและ (อย.) ได้ออกมาเตือนผู้บริโภค อย่าหลงซื้อเจลแอลกอฮอล์ปลอมที่มี ‘เมทิลแอลกอฮอลล์’ เป็นส่วนผสมมาใช้เด็ดขาด เนื่องจากมีความเสี่ยงร้ายแรงถึงขั้นอาจทำให้ตาบอด และเป็นอันตรายต่อชีวิต พร้อมทั้งแนะนำหลักการเลือกซื้อเจลแอลกอฮอล์ ที่เราสามารถนำไปปฏิบัติตามง่ายๆ ดังนี้ค่ะ

1.เลือกซื้อจากแหล่งขายที่เชื่อถือได้

2.ตรวจสอบเลขที่ใบรับจดแจ้งของผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อทุกครั้ง

3.อ่านฉลากเพื่อตรวจสอบส่วนผสมของเจลแอลกอฮอล์ที่ซื้อ

4.เลือกซื้อเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 70%

4 วิธี ตรวจสอบเจลแอลกอฮอล์ ว่าแท้หรือไม่ ?

4 วิธี ตรวจสอบเจลแอลกอฮอล์ ว่าแท้หรือไม่ ?

อย่างไรก็ตาม หากใครซื้อเจลแอลกอฮอล์มาแล้ว แต่ยังไม่มั่นใจในผลิตภัณฑ์ที่ซื้อมา แอดมินมีวิธีในการตรวจสอบว่าเจลล้างมือที่เราซื้อมานั้นเป็นของแท้หรือปลอมกันค่ะ ? โดยมี 4 วิธี ดังนี้ค่ะ

1.“ นำไปวัดจุดเดือด”
โดยการนำเจลแอลกอฮอล์ใส่ในภาชนะบรรจุสารเคมี นำไปตั้งไฟ แล้วใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ (วัดเมื่อถึงจุดเดือด) หากเครื่องวัดอุณหภูมิได้ประมาณ 78 องศาเซลเซียส แสดงว่าเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ แต่หากวัดอุณหภูมิได้ประมาณ 65 องศาเซลเซียส แสดงว่าเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ค่ะ วิธีนี้ค่อนข้างแม่นยำเชียวค่ะ

2.“การดมกลิ่น”
โดยกลิ่นของเอทิลแอลกอฮอล์นั้น จะมีกลิ่นที่แรงกว่าเมทิลแอลกอฮอล์มากๆ ค่ะ ในทางตรงกันข้ามเมทิลแอลกอฮอล์นั้น ถึงแม้กลิ่นจะไม่แรง แต่เวลาดมแล้วจะรู้สึกแสบจมูกมากกว่าค่ะ

3.“ใส่หลอดทดลอง”
โดยการนำเจลแอลกอฮอล์ใส่หลอดทดลอง และนำสารละลายไอโอดีน (อาจใช้เป็นเบตาดีนก็ได้ค่ะ) ผสมกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ (เช่น โซดาไฟ) และนำไปแช่ในน้ำอุ่น พร้อมทั้งเขย่าหลอด แล้วทิ้งไว้ประมาณ 2 นาทีค่ะ หากเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ ก้นของหลอดจะมีตะกอนสีเหลืองเกิดขึ้นค่ะ แต่หากเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ จะไม่มีตะกอนค่ะ

4.“นำไปจุดไฟ”

เป็นการดูลักษณะสีของเปลวไฟค่ะ หากเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ เปลวไฟจะลุกสว่างเจิดจ้า และออกไปทางสีเหลือง ในขณะที่เมทิลแอลกอฮอล์นั้น เปลวไฟจะออกไปทางสีฟ้า และไฟจะติดน้อยกว่าค่ะ

ตัวอย่างของ เจลแอลกอฮอล์ ที่ไม่ได้มาตรฐาน

เคล็ด (ไม่) ลับ ล้างมืออย่างไร ? ให้ห่างไกลมือแห้ง

เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ทำให้หลายๆ คนต้องล้างมือบ่อยขึ้น จึงส่งผลให้บางคนเผชิญกับปัญหามือแห้งกร้าน ลอกเป็นขุย (พาลให้คันยิบๆ) ด้วยเหตุนี้ แอดมินจึงขอส่งท้ายด้วยทริคดีๆ ที่มาช่วยลดอาการดังกล่าว โดยสามารถนำไปใช้และปฏิบัติตามง่ายๆ ดังนี้ค่ะ

1.หลังจากที่เราล้างมือหรือใช้เจลแอลกอฮอล์แล้วนั้น ให้เราหมั่นทาผิวด้วยครีมบำรุง โลชั่น หรือจะเป็นออยล์ทาผิวก็ได้ค่ะ ทาให้ทั่วมือเป็นประจำ จะสามารถช่วยลดอาการมือแห้งแตก แถมยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้มือกลับมาเนียนนุ่มน่าสัมผัสอีกด้วยค่ะ

2.กรณีหากอยู่บ้าน ให้เปลี่ยนจากการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ มาเป็นสบู่แทนค่ะ เพราะสบู่นั้นนอกจากจะช่วยชำระล้างเชื้อโรคได้อย่างหมดจดแล้ว สบู่ยังมีส่วนผสมพิเศษช่วยบำรุงให้มืออ่อนนุ่ม ชุ่มชื้น ไม่แห้งตึงด้วยค่ะ

3.เลือกใช้เจลแอลกอฮอล์ที่มีส่วนผสมของ ”ว่านหางจระเข้ (Aloe Alcohol Gel)” นับว่าเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย เพราะว่านหางจระเข้นั้น มีสรรพคุณในการช่วยลดการระคายเคือง ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิว แถมยังช่วยลดกลิ่นฉุนของแอลกอฮอล์ได้ดีด้วยค่ะ ..อย่ารอช้า รีบหามาใช้กันนะคะ

ขอขอบพระคุณแหล่งข้อมูลและภาพจาก :

รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและ (อย.)

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เชื้อไวรัส Covid-19

คลิ๊ก https://doctormekclinic.com/coronavirus/

เว็บไซด์ doctormekclinic.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซด์เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของใคร ของผู้ใช้งาน

บันทึก